วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กระแสนิยมเคป๊อปกระทบวัยรุ่นไทย!!! -[]-

กระแสนิยมเคป๊อปกระทบวัยรุ่นไทย!!! -[]-

รศ.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า จากการศึกษาวิจัย กระบวนการเอเชียภิวัตน์ของวัฒนธรรมป๊อปเกาหลี (เคป๊อป) : การผลิต การบริโภค และการสร้างอัตลักษณ์ของวัยรุ่นไทย พบว่า สินค้าวัฒนธรรมป๊อปเอเชีย ซึ่งประกอบด้วยสินค้าหลากหลายประเภท เช่น ภาพยนตร์ ดนตรี ละครโทรทัศน์ หนังสือการ์ตูน นิตยสาร เว็บไซต์ เกมออนไลน์ เป็นต้น กำลังได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในกลุ่มผู้บริโภควัยรุ่นตามมหานครของเอเชีย โดยยุคปัจจุบันสินค้าวัฒนธรรมป๊อปเกาหลีที่เข้ามาแพร่หลายอย่างรวดเร็วในไทย เป็นผลมาจากการที่เกาหลีได้ศึกษาวิจัยด้านการตลาดของภูมิภาคเอเชีย และวัฒนธรรมเฉพาะของแต่ละประเทศว่าสินค้าวัฒนธรรมประเภทใดที่เป็นที่นิยม สามารถเปิดตลาดในประเทศเพื่อนบ้านได้ ประกอบกับเกาหลีได้พัฒนาบุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ ไปยังประเทศต่างๆ ในเอเชีย จึงต้องการเนื้อหาความบันเทิงจากสินค้าทางวัฒนธรรมมารองรับ

รศ.อุบลรัตน์กล่าวว่า ที่สำคัญคือรัฐบาลเกาหลีเป็นผู้ลงทุน และวางโยบายเรื่องการส่งสินค้าทางวัฒนธรรมในตลาดเอเชีย โดยจัดทำแผนปฏิบัติการ และพัฒนาบุคลากรฝ่ายสร้างสรรค์ เนื้อหาสาระด้านเพลง ละคร ภาพยนตร์ ด้วยนโยบายของภาครัฐ และความพร้อมของภาคเอกเชน ทำให้สินค้าทางวัฒนธรรมของเกาหลีประสบความสำเร็จด้านการตลาดในประเทศต่างๆ

กระแสนิยมของสินค้าทางวัฒนธรรมจากเกาหลีส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมวัยรุ่นไทย ทำให้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับกระแสนิยมของวัยรุ่นในภูมิภาคเอเชีย เปรียบเทียบกับอัตลักษณ์ของตนเองในฐานะวัยรุ่นไทย และวัฒนธรรมป๊อปของสังคมในบ้านเรา ผลกระทบอีกด้านคือเศรษฐกิจ โดยวัยรุ่นไทยต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่ละเดือนไม่น้อยสำหรับซื้อสินค้าทางวัฒนธรรม นอกจากนี้ ยังเกิดความสนใจเรียนภาษาเกาหลีเพิ่มขึ้น เพื่อให้รู้เนื้อหาในภาพยนตร์ ละคร เพลงของเกาหลี และแบ่งปันความรู้ผ่านอินเตอร์เน็ต โดยวัยรุ่นอีกส่วนหนึ่งใช้เวลาว่างเรียนร้องเพลง และการแสดงต่างๆ สิ่งเหล่านี้ทำให้วัยรุ่นไทยได้เรียนรู้กระบวนการทางนิเทศศาสตร์ และเทคโนโลยีต่างๆ รศ.อุบลรัตน์กล่าว

รศ.อุบลรัตน์กล่าวว่า แม้กระแสความนิยมทางสินค้าวัฒนธรรมของเกาหลีจะมีอิทธิพลต่อวัยรุ่นไทยอย่างมาก แต่เป็นไปในลักษณะผสมผสานกับค่านิยมวัฒนธรรมไทย ในภาพรวมจึงไม่ทำให้สูญเสียอัตลักษณ์ของวัยรุ่นไทย อย่างไรก็ตาม สื่อมวลชนไทยควรมีบทบาทที่เข้มแข็งในการสร้างภูมิคุ้มกันการเรียนรู้ของวัยรุ่น สังคมไทยจะต้องมองปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น และก้าวตามให้ทันว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงสินค้า วัฒนธรรม ค่านิยม เป็นมิตรภาพ หรือการครอบงำทางวัฒนธรรม

ตลอดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาข่าวที่จับจองพื้นที่หน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์หลายฉบับมากที่สุดคงจะไม่พ้นข่าวการตายของราชาเพลงป๊อประดับโลก "ไมเคิล แจ็กสัน" ถึงขนาดแย่งพื้นที่ข่าวการโฟนอินข้ามประเทศมาออดอ้อนสาวกเสื้อแดงอย่างอดีตนายกทักษิณ ชินวัตร ได้ซะเงียบสนิท จนเมื่อวานก็มีกระแสข่าวออกมาว่ามีบรรดาแฟนคลับของไมเคิลฆ่าตัวตายตามไปแล้วถึง 12 คน

กระแสคลั่งไคล้ดาราไม่ได้เพิ่งเกิดแต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมานานแล้วในสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นกระแสคลั่งดารา ศิลปินเจป๊อปของญี่ปุ่นหรือเคป๊อปของเกาหลี เห็นได้จากการกระแสคลั่งไคลศิลปินเคป๊อปอย่าง "ดงบังชินกิ" ที่ไม่รู้ว่าใครเป็นคนตั้งฉายาให้ถึงขนาดเป็น "เทพเจ้าแห่งโลกตะวันออก" ที่มาจัดคอนเสิร์ตที่อิมแพ็ค อารีน่า เรียกเสียงกรี๊ดของวัยรุ่นวัยโจ๋ไทยได้ไปหลายเมื่อช่วงสิ้นเดือนที่ผ่านมา ไม่เพียงแค่นี้ ยังมีซีรีส์กาหลีและเกมจากเกาหลีที่เข้ามาฮิตในเมืองไทยจนกลายเป็นกระแสเกาหลีฟีเวอร์

และจากกระแสคลั่งเกาหลีนี่เอง ที่ทำให้เกิดการลอกเลียนแบบทั้งการแต่งกายและวัฒนธรรม จนถึงขั้นการเดินทางไปทำศัลยกรรมที่เกาหลีเพื่อให้ได้มีใบหน้าละม้ายคล้ายดาราศิลปินที่ชื่นชอบ








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

GOT7 "너란 걸(Magnetic)" Dance Practice